วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

1.ขุั้นตอนการแก้ปัญหา โดยนำเสนอในรูปแผนผังความคิดและอธิบายรายละเอียด
1.การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา  (State The Problem)
 การระบุข้อมูลออก(output specification) เป็นการกำหนดรูแบบของผลลัพธ์ที่ต้องการให้แสดงออกมา
 การระบุข้อมูลเข้า(input specification)  เป็นการกำหนดข้อมูลที่ต้องป้อนเข้า
 การกำหนดวิธี(process specification) มีการพิจารณาขั้นตอนหรือวิธีการทำงานที่ใช้ในการหาคำตอบ

2.การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี (Tools And Algorithm Development)
เป็นการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน พิจารณาเงื่อนไขและข้อมูลที่มีอยู่ หลังจากที่ทำความเข้าใจ เราสามารถคาดคะเนวิธีการแก้ไขปัญหา อีกสำคัญในการแก้ปัญหา คือ
ยุทธวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหา หรือที่เราเรียกว่า “ขั้นตอนวิธี” (Algorithm) ในการแก้ปัญหา
หลังจากที่เราได้เครื่องมือช่วยแก้ปัญหาแล้ว ผู้แก้ปัญหาต้องวางแผนว่าจะใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องที่สุด 


3. การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation) เป็นจั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ไขปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เลือกไว้

4.การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement) หลังจากที่แก้ไขปัญหาแล้วต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง




2.การออกแบบขั้นตอนวิธี จากมุมเทคโนโลยี

ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1)รับข้อมูลเข้าจากสื่อต่างๆ
2)คำนวณทางคณิตศาสตร์
3)เปรียบเทียบค่าสองค่า
4)เคลื่อนย้ายข้อมูลในหน่วยความจำ
ความสามารถตามลำดับก่อน-หลัง 
1)การกำหนดค่าเริ่มต้น(initialization) คือ การกำหนดค่าตัวแปรบางชนิด
2)การรับข้อมูล(input) คือ การปรับตัวเข้ามาซึ่งตัวแปรได้จากการวิเคราะห์โจทย์ 
3)การคำนวณ(computation) คือ การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนการคำนวณตามลำดับก่อน-หลัง
4)การแสดงข้อมูล (output) คือ การแสดงค่า ทำหลังจากการรับข้อมูลและการคำนวณ ตัวแปรที่แสดงค่า คือ ตัวแปรที่โจทย์ต้องการผลลัพธ์
5)การเปรียบเทียบหรือการเลือก (selection) เป็นการเลือกทิศทางการทำงาน โดยมีเงื่อนไขที่ชัดเจน
6)การเปรียบเทียบเชิงตรรกะ


3.การถ่ายถอดความคิดโดยการแก้ปัญหาในการเขียนบรรยาย พร้อม 1 ตัวอย่าง
เป็นการถ่ายทอดความคิดโดยการเขียนคำบรรยายเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันทั่วไป

จงเขียนแผนผังสำหรับคำนวณหาพื้นที่วงกลม ทั้งนี้ให้รับค่ารัศมี และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ทางเครื่องพิมพ์

รายละเอียดของปัญหา : คำนวณหาพื้นที่วงกลม
การวิเคราะห์                : ขั้นตอนคำนวณหาพื้นที่วงกลม จากสูตร พื้นที่วงกลม = πr²
การออกแบบขั้นตอนวิธี : 1.ข้อมูลออก หรือผลลัพธ์ คือ พื้นที่วงกลม แทนด้วย Area
                2.ข้อมูลเข้า คือ รัศมี แทนด้วย r
                                           3.วิธีการประมวลผลดังนี้
4.การถ่ายถอดความคิดในการแก้ปัญหาโดยการใช้สัญลักษณ์ พร้อม 1 ตัวอย่าง
เป็นการถ่ายทอดความคิดในรูปแบบแผนภาพ ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เรียกว่า การเขียนแผนผัง(flowchart) ใช้สำหรับการสื่อสารขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาให้เข้าใจตรงกัน เช่น
5.การถ่ายถอดความคิดในการแก้ปัญหาโดยการใช้รหัสจำลอง พร้อม 1 ตัวอย่าง



เป็นรหัสคำสั่งที่ใช้เขียนเลียนแบบคำสั่งโปรแกรมอย่างย่อ รหัสจำลองจะใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ เช่น

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

Post 4 Answer 5 Question on pages 94

คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 4
1.จงอธิบายความหมายของการเขียนโปรแกรมและขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรม
ตอบ
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย
  1. การวิเคราะห์ปัญหา
  2. การออกแบบโปรแกรม
  3. การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
  4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
  5. การทำเอกสารประกอบโปรแกรม
                                                                                                                                                           
2.ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในการเขียนโปรแกรมมีภาษาใดบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
  1) ภาษาเครื่อง (machine  language)
                        ภาษาเครื่องจัดเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาเดียวที่สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์ ได้โดยตรง    เพราะว่าการเขียนคำสั่งและข้อมูลในภาษาเครื่องใช้ระบบเลขฐานสอง (binary number system) คือใช้ตัวเลข 0  และ 1 เท่านั้น   ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็ว   ส่วนข้อเสียของภาษาเครื่อง  คือ  เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันมีลักษณะการเขียนภาษาเครื่องที่แตกต่างกันไป  และเกิดความยุ่งยากในการปรับปรุงแก้ไข  ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน    ดังนั้นภาษานี้จึงไม่เหมาะกับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม

ตัวอย่างที่  1.18  แสดงคำสั่งของภาษาเครื่องมีดังนี้ 
ถ้าเราต้องการสั่งให้เครื่องทำงานตามคำสั่ง  9 + 3  แสดงได้ดังนี้
การบวกแทนด้วยรหัส                          10101010
เลข  9  เปลี่ยนเป็นเลขฐานสอง            00001001
เลข  3  เปลี่ยนเป็นเลขฐานสอง            00000011
ดังนั้น  คำสั่ง  9 + 3  เขียนเป็นภาษาเครื่องได้ดังนี้

00001001   10101010   00000011

                        2) ภาษาแอสเซมบลี (assembly  language)
                        ภาษาแอสเซมบลีหรือจะเรียกชื่ออีกอย่างว่าภาษาระดับต่ำ  ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียน โปรแกรมติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ง่ายกว่าภาษาเครื่อง    ส่วนการเขียนคำสั่งในภาษาแอสเซมบลีจะใช้คำย่อของภาษาอังกฤษและอ้างถึง ตำแหน่งที่อยู่ภายในคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่  ได้แก่  MOVE, DC, DS, CL10 เป็นต้น    ผู้ที่ต้องใช้ภาษาแอสเซมบลีส่วนมากจะเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์  ดังนั้นภาษาแอสเซมบลีจึงไม่เหมาะกับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม

            ตัวอย่างที่  1.19  แสดงคำสั่งของภาษาแอสเซมบลีมีดังนี้ 
ถ้าเราต้องการสั่งให้เครื่องทำงานตามคำสั่ง  9 + 3  แสดงได้ดังนี้
                MOV   AX,  9
                MOV   BX, 3
                ADD   AX, BX

                        3) ภาษาระดับสูง (high  level  language)
                        ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าภาษาแอสเซ มบลีและภาษาเครื่อง ทั้งนี้ก็เพราะการเขียนคำสั่งของภาษาระดับสูงมีลักษณะเป็นภาษาอังกฤษ    ซึ่งอ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายกว่าภาษาแอสเซมบลี  เช่น  ใช้คำว่า  READ, WRITE, PRINT, COMPUTE  เป็นต้น    ตัวอย่างของภาษาระดับสูงได้แก่   ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN), ภาษาโคบอล (COBOL),  ภาษาเบสิก (BASIC), ภาษาปาสคาล (PASCAL)  และภาษาซี (C)   เป็นต้น  ซึ่งแต่ละภาษามีประวัติพอสังเขปดังต่อไปนี้

  • ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN  ย่อมาจาก  FORmula  TRANslator)  พัฒนาโดยบริษัท  IBM  ระหว่างปี ค.ศ.1954  ถึง  ค.ศ.1957  ภาษานี้ใช้สำหรับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์  ที่ต้องใช้ในการคำนวณสมการคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน  ปัจจุบันภาษาฟอร์แทรนยังเป็นที่นิยมใช้  ในการพัฒนาโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
  • ภาษาโคบอล (COBOL  ย่อมาจาก  Common  Business  Oriented  Language)  พัฒนาขึ้นในปี  ค.ศ.1959  เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้านธุรกิจและการ ค้า  ปัจจุบันโปรแกรมที่ใช้ในด้านธุรกิจจำนวนมากยังเป็นโปรแกรมที่พัฒนามาจากภาษา โคบอล
  • ภาษาเบสิก  (BASIC ย่อมาจาก  Beginners  All-purpose  Symbolic  Instructional  Code)  เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เริ่มต้นพัฒนาโปรแกรมสามารถ เรียนรู้และเข้าใจการพัฒนาโปรแกรมอย่างง่าย  ภาษาเบสิกเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาแรกที่ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
                                    ภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นในยุคแรก  ยังมีข้อจำกัดในการที่จะพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่  ทั้งนี้เนื่องจากภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นขาดโครงสร้างที่ดี  ทำให้การพัฒนาโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนเป็นไปได้ยาก  ในช่วงต้นปี  ค.ศ.1970  จึงมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาเชิงกระบวนการ (Procedural  หรือ  Structural  Language)  เกิดขึ้น  ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะมีความยืดหยุ่นในการพัฒนาโปรแกรม  ทำให้สามารถแก้ไขและบำรุงรักษาได้ง่าย  เนื่องจากโปรแกรมถูกแยกออกเป็นส่วน ๆ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาเชิงกระบวนการที่สำคัญคือ
  • ภาษาปาสคาล (Pascal) พัฒนาโดย  Niclaus  Wirth  ในปี ค.ศ.1971  โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการสอนการเขียนโปรแกรมภาษาเชิงกระบวนการ  ในมหาวิทยาลัย  แต่เนื่องจากภาษาปาสคาลไม่มีคุณลักษณะที่จะสนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมด้าน ธุรกิจและอุตสาหกรรมจึงไม่ได้รับความนิยมมากนัก
  • ภาษาซี (C)  พัฒนาขึ้นในช่วงเดียวกับภาษาปาสคาล  โดยนักวิจัยที่ห้องปฏิบัติการ  AT&T  Bell  ซึ่งได้นำเอาจุดเด่นของภาษา  BCPL  และภาษา  B  มาใช้และได้เพิ่มคุณลักษณะและชนิดข้อมูลอื่นเข้ามาด้วย  เดิมภาษาซีถือว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่สำคัญในการพัฒนาโปรแกรมบนระบบ ปฏิบัติการยูนิกส์  (Unix)  ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถสร้างโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มาก  เมื่อเทียบกับภาษาคอมพิวเตอร์อื่น ๆ
                        4) ภาษาระดับสูงมาก  (very  high  level  language)
                        ภาษาระดับสูงมาก   บางครั้งเรียกว่า  Fourth Gerneration Languages (4GLs)   เป็นภาษาที่มีลักษณะสำคัญ  คือ  ผู้เขียนโปรแกรมไม่ต้องบอกวิธีการทำงานโดยละเอียด   เพียงแต่ระบุคำสั่งให้ทำงานสั้น ๆ   ให้ภาษาระดับสูงมากเข้าใจก็เพียงพอ    ส่วนวิธีการคำนวณหรือการทำงานภาษาระดับสูงมากจะเป็นผู้จัดการเองทั้งสิ้น    บางครั้งเรียกว่า  non-procedure language
ตัวอย่างภาษาระดับสูงมาก  ได้แก่  ภาษา SQL (Structured  Query  Langauge) ซึ่งนิยมใช้กันในซอร์ฟแวร์พัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูล   เช่น   ORACLE   เป็นต้น

                        5) ภาษาระดับธรรมชาติ  (natural   language)
                        ภาษาธรรมชาติจะเกี่ยวข้องกับระบบฐานความรู้ (knowledge based system )  และกฎอ้างอิง  (inference rules)  เพียงแต่ผู้ใช้ภาษาธรรมชาติป้อนคำถามผ่านเข้าไปในคอมพิวเตอร์ที่มีภาษา ธรรมชาติก็จะทำการวิเคราะห์คำถามแล้วไปค้นหาคำตอบจากระบบฐานความรู้ที่เก็บ ไว้
ตัวอย่างของภาษาธรรมชาติ  ได้แก่  ภาษา  PROLOG และภาษา LISP  (List  Processing Language)

                                                                                                                                  
3.จงอธิบายขั้นตอนการเริ่มสร้างโพรเจกต์ใหม่ด้วยโปรแกรม Microsoft Visual Studio
ตอบ
1)การเข้าสู่โปรแกรม คลิก Start >Programs >Microsoft Visual Studio 2008
2)การเริ่มสร้างโพรเจกต์ใหม่ คลิก Projact ของ Create จากนั้นคลิกที่ VisualC#
และเลือกปุ่ม Browse เพื่อให้ไฟล์ที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบในแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ และพิมพ์ชื่อไฟล์
3)แถบเมนู เป็นเมนูหลักที่รวบรวมคำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรม Microsoft Visual Studio 2008
4)แถบเครื่องมือ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียกใช้งานคำสั่งในเมนูบาร์ที่ใช้งานบ่อยครั้งทำได้สะดวกขึ้น
5)กล่องเครื่องมือ เป็นหน้าต่างที่แสดงกลุ่มควบคุม และส่วนประกอบต่างๆ
6)หน้าต่าง Form Design ออกแบบหน้าตาของแอพพลิเคชัน
7)หน้าต่าง Solution Explorer แสดงรายการของไอเท็ม
8)หน้าต่าง Properties Window แสดงและกำหนดคุณสมบัติเื้บื้องต้นของกลุ่มควบคุม
9)หน้าต่าง Code Editor หน้าต่างที่ใช้สำหรับเขียนโค้ดควบคุมการทำงานของแอพพลิเคชันตามที่ต้องการ 

                                                                                                                                     
4.การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีซาร์ป มีลักษณะอย่างไร
ตอบ  
ภาษาซีชาร์ป(C#)เป็นภาษาเชิงวัตถุ ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากภาษาซีพลัสพลัส(C++)โดยบริาัทไมโครซอฟต์ซึ่งได้รวบรวมข้อ ดีของภาษาต่างๆ เช่น ภาษาจาวา(Java) ภาษาเดลไฟ(Delphi) ภาษาซีพลัสพลัส(C++)เข้าไว้ด้วยกัน มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานสูงขึ้น ซึ่งขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมดังที่กล่าวไปแล้วนั้นอาจยุ่งยากและซับซ้อน สำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ ปัจจุบันได้มีวอฟแวร์สำหรับช่วยพัฒนาโปรแกรมภาษา C# อยู่จำนวนมากให้เลือกใช้ซึ่งเพิ่มความสะดวกและลดข้อผิดพลาดได้มากหนึ่งในซอ ฟแวร์นั้นคือ Microsoft Visual studio 2008
                                                                                                                                
5.เมื่อได้ออกแบบโปรแกรมที่ต้องการแล้ว และจะเริ่มสร้างโปรแกรมด้วยภาษาซีซาร์ป จะต้องมีขั้นตอนในการสร้างโปรแกรมอย่างไร
ตอบ
มีขั้นตอนในการพัฒนาอย่างเป็นลำดับ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1.การวิเคราะห์ปัญหา  เป็นขั้นตอนของการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นของระบบงานปัจจุบัน จะต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา ดังนี้
1)ความเป็นไปได้ทางเทคนิค
2)ความเป็นไปได้ด้านบุคลากร
3)ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐสาสตร์
2.การออกแบบโปรแกรม เป็นการนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์มาออกแบบโปรแกรม โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยเพื่อให้การออกแบบเป็นมาตรฐานมากขึ้น ซึ่งเครื่องมือในการออกแบบที่นิยมใช้ได้แก่ ผังงาน และรหัสจำลอง
3.การเขียนโปรแกรม  เป็นการนำผลที่ได้จากการออกแบบโปรแกรมด้วยผังงานหรือรหัสจำลอง มาแปลงเป็นคำสั่งของโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เพื่อนำไปประมวลผลข้อมูลและได้ผลลัพธ์ของโปรแกรมต่อไป โดยผู้เขียนโปรแกรมสามารถเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ได้ตามความถนัดของแ่ต่ละบุคคล ต่อไป
4.การทดสอบโปรแกรม เป็นขั้นตอนการตรวจสอบความถููกต้องในการทำงาน และตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนโปรแกรม ดดยทั่วไปข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการเขียนโปรแกรมมี 3 ชนิด
1)ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์
2)ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นขณะรันโปรแกรม
3)ข้อผิดพลาดทางตรรกะ
5.การจัดทำเอกสารประกอบ  หมายถึง การเตรียมเอกสารอธิบายโปรแกรม ซึ่งมีความสำคัญและควรทำอย่างต่อเนื่องหลังจากการพัฒนาโปรแกรม ดดยทั่วไปเอกสารที่จัดทำมีอยู่สองประเภท คือ คู่มือผู้ใช้ และคู่มือนักเขียนโปรแกรมเมอร์
                                                                                         

Post 3 Creative Chapter 4 on mind mapping style

Chapter 4 on mind mapping style

Post 2 Creative Chapter 3 on mind mapping style

Chapter 3 on mind mapping style 

Post 1 Choose between Activity 1 or 2 on pages 68 and explain it into your blogger.

กิจกรรมที่1 ให้นร.เลือกปัญหาในชีวิตประจำวันมา 1 ปัญหา แล้วเขียนอธิบายการถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยการใช้ข้อความหรือคำบรรยาย

การเตรียมตัวไปโรงเรียน
รายละเอียดของปัญหา: การเตรียมตัวไปโรงเรียน
การวิเคราะห์: ขั้นตอนการเตรียมตัวไปโรงเรียน
การออกแบบขั้นตอนวิธี: 1.นาฬิกาปลุกดัง
                    2.ตรวจสอบว่าเป็นวันเปิดเทอมหรือไม่
                    -ถ้าไม่ใช่วันเปิดเรียน ให้นอนหลับต่อ
                    -ถ้าใช่วันเปิดเรียน ให้ลุกขึ้นมา อาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหารเช้า 
                    3.ตรวจสอบว่ามีฝนตกหรือไม่ก่อนออกจากบ้าน
                    -ถ้าตกให้พกร่มไปโรงเรียน แล้วทำตามข้อ 4.
                    -ถ้าไม่ตกให้ทำตามข้อ 4.
                    4.ออกไปโรงเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

1. ขั้นตอนการแก้ปัญหา โดยนำเสนอในรูปแบบแผนผังความคิดและอธิบายรายละเอียด
 
 
 
1)  การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา  (State The Problem) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหา
แต่ผู้แก้ปัญหามักจะมองข้ามไป
จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ คือ
การทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือ
เงื่อนไขของปัญหาคืออะไร อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผล
กล่าวโดยสรุปมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ดังนี้
             การระบุข้อมูลเข้า
ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา

         การระบุข้อมูลออก
 
ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ

            
การกำหนดวิธีประมวลผล
ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อมูลออก
 
2) การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี (Tools And Algorithm Development) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
หลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาเงื่อนไขและข้อมูลที่มีอยู่
และสิ่งที่ต้องการหาในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
หลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาเงื่อนไขและข้อมูลที่มีอยู่
และสิ่งที่ต้องการหาในขั้นตอนที่
1แล้ว
เราสามารถคาดคะเนวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา
ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาเป็นหลัก
หากผู้แก้ปัญหาเคยพบกับปัญหาทำนองนี้มาแล้วก็สามารถดำเนินการตามแนวทางที่
เคยปฏิบัติมา

ขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา
โดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือกับเงื่อนไขต่างๆ ของปัญหา
ซึ่งหมายรวมถึงความสามารถของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าว
และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความคุ้นเคยในการใช้งานเครื่องมือนั้นๆ ของผู้แก้ปัญหา
อีกสิ่งหนึ่งที่ สำคัญในการแก้ปัญหา คือ
ยุทธวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหา หรือที่เราเรียกว่า
ขั้นตอนวิธี” (Algorithm) ในการแก้ปัญหา
หลังจากที่เราได้เครื่องมือช่วยแก้ปัญหาแล้ว
ผู้แก้ปัญหาต้องวางแผนว่าจะใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูก
ต้องที่สุด การออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา
ผู้แก้ปัญหาควรใช้แผนภาพหรือเครื่องมือในการแสดงขั้นตอนการทำงาน
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ เช่น ผังงาน (
Flowchart) ที่จำลองวิธีขั้นตอนการแก้ปัญหาในรูปแบบสัญลักษณ์
รหัสจำลอง (
Pseudo Code) ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนวิธีการปัญหาในรูปแบบคำบรรยาย
การใช้เครื่องมือช่วยออกแบบดังกล่าว
นอกจากแสดงกระบวนการที่ชัดเจนแล้วยังช่วยให้ผู้แก้ปัญหาสามารถหาข้อผิดพลาด
ของวิธีการที่ใช้ได้ง่ายและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

3)
การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation) หลังจากที่ออกแบบขั้นตอนวิธีเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เลือกไว้
การแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงาน
ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จหรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ ปัญหา
ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้
ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในขณะดำเนินการ
หากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้


4) การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement) หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้ว
ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า

วิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
โดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียด
ของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้าและข้อมูลออก
เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ทุกกรณีอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดี
ที่สุด
ขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น เป็นเสมือนขั้นบันได (Stair) ที่ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาต่างๆ
ได้ รวมทั้งการเขียนหรือพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหา ก็ต้องใช้กระบวนการตามขั้นตอนทั้ง
4 นี้เช่นกัน

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แนะนำตัวเจ้าของบล็อค มายด์ไวรัส(เอลซ่า) (

สวัสดีค่ะครูเฟิร์น 
หนูชื่อจริดา บุญประภาร 
ชื่อเล่นมายด์ค่ะ ฉายา มายด์ไวรัส
ชอบให้เรียกเอลซ่าค่ะ
หนูชอบหมีพู 
ชอบสีฟ้า
กรุ๊ปเลือดบี(B)
เรียนโรงเรียนบางบ่อวิทยาคม 
ม.5/5 โครงการEIS
เกิดวันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ.2540
เพื่อนสนิทมี เฟิน ฟ้า วา แอม หญิง เชอรี่ มิ้น บีม 
บัดดี้คือ จ๋า
ดารานักน้องที่ชอบมากๆคือ คชาAF ♥
สถานที่ที่ชอบคือ ทะเลโอ้ฮัลเล้
นิสัยส่วนตัว ขี้เล่นชอบแกล้ง อารมณ์ดี ตรงๆ โลกส่วนสูง ไม่ชอบความวุ่นวาย ใจเย็น 
หนูเป็นคนดีมากค่ะ555555555555555555555555555555555555555
และนี้เฟสบุ้คของหนู https://www.facebook.com/mind.viruss.7